ไฟหน้าแบบดั้งเดิมของรถยนต์ทั่วไปจะแบ่งตัวโคมเป็น 2 แบบ คือ
แบบเปลี่ยนหลอดไม่ได้
หรือที่เรียกว่า “Sealed Beam Head Lamp” ลักษณะของโคมไฟแบบนี้ตัวจานสะท้อนแสงหลอด
และเลนส์ด้านหน้าจะยึดติดสนิทเป็นชิ้นเดียวกัน ตัวหลอดไม่สามารถเปลี่ยนได้
- ข้อดี คือ จานสะท้อนแสงจะไม่เกิดการขุ่นมัว เพราะตัวโคมมีการซีลปิดสนิทฝุ่นผงไม่สามารถเล็ดลอดเข้าไปได้
- ข้อเสียคือ เวลาหลอดขาดต้องเสียเงินซื้อมาเปลี่ยนใหม่ทั้งโคมนิยมใช้ในรถยนต์รุ่นเก่า
แบบเปลี่ยนหลอดได้ “Changeable Head Lamp”
ลักษณะคล้าย ๆ กับแบบแรกแต่ตัวหลอดไฟที่อยู่ภายในสามารถถอดออกมาเปลี่ยนใหม่เมื่อใช้การไม่ได้
ข้อเสีย คือ เมื่อใช้งานไปสักระยะหนึ่งจะมีสิ่งสกปรกเล็ดลอดเข้าไปทำให้ตัวจานฉายหมองลงไม่แจ่มใสเหมือนของใหม่
หลอดไฟทั่วไปที่ใช้อยู่ในปัจจุบันนี้ สามารถแบ่งออกเป็น 3 กลุ่มใหญ่ ๆ ตามลักษณะการทำงาน ได้แก่
- หลอดความร้อน “Incandescent Bulb”ทำงานโดยปล่อยให้กระแสไฟไปยังไส้หลอด (Filament)
ซึ่งทำจากลวดทังสเตน เพื่อให้เกิดความร้อน เมื่อไส้หลอดเกิดความร้อนก็จะทำให้เกิดแสงสว่างขึ้น
(เช่นเดียวกับที่เราเห็นจากเตาไฟฟ้าแบบขดลวด) และโดยปกติภายในหลอดชนิดนี้จะเป็นสูญญากาศ
เพื่อป้องกันการเผาไหม้จนเกิดความร้อนสูงเกินควบคุมหรืออาจจะบรรจุก๊าซเฉื่อย เช่น ก๊าซอาร์กอน
ไว้เพื่อช่วยลดคราบเขม่าที่เกิดจากโลหะทังสเตนมาจับผิวด้านใน - หลอดฮาโลเจน “Halogen Bulb”คือ หลอดที่ไฟถูกพัฒนาขึ้น ให้มีความสามารถในการรักษาความสว่าง
เอาไว้ได้ จนหมดอายุการใช้งานหลอดแบบนี้จะบรรจุด้วยก๊าซฮาโลเจนเพื่อให้เกิดวงจรฮาโลเจน
(Halogen Cycle) กล่าวคือ อนุภาคของทังสเตน (W) ที่เกิดขึ้นและเคลื่อนตัวไปใกล้หลอดแก้ว
จะไปรวมตัวกับก๊าซฮาโลเจน เมื่ออนุภาคที่รวมตัวกันเคลื่อนเข้าใกล้ไส้หลอดไฟ อนุภาคของทังสเตน
ก็จะไปจับกับไส้หลอดหรือขาหลอดไฟ(Stem) ส่วนอนุภาคของก๊าซฮาโลเจนก็จะเคลื่อนตัวไปยังผิว
ของหลอดแก้ว เพื่อรวมตัวกับอนุภาคของทังสเตนต่อไปเป็นวงจรอย่างนี้เรื่อย ๆ การทำงานแบบนี้
จะทำให้อนุภาคที่รวมตัวกันเกาะที่ผิวหลอดบ้าง แต่อนุภาคที่รวมตัวกันนี้เป็นสารกึ่งโปร่งแสง
จึงส่งผลกระทบต่อความสว่างน้อยมาก การทำให้เกิดวงจรฮาโลเจนนี้จะต้องรักษาอุณหภูมิของหลอด
แล้วให้คงที่ประมาณ 250 องศาเซลเซียส จึงจำเป็นต้องใช้แก้วชนิดพิเศษในการผลิตหลอดแบบนี้
นอกจากนั้นความดันของก๊าซเฉื่อยภายในหลอดแก้ว และไส้ก็เป็นส่วนสำคัญที่ทำให้เกิดวงจรได้สมบูรณ์ - หลอด HIDเป็นของใหม่ล่าสุดในเวลานี้ รู้จักกันในนามของหลอด “ซีนอน” (Xenon) เนื่องจากภายในบรรจุ
เอาไว้ด้วยก๊าซนีออน หลอดชนิดนี้ถูกนำมาใช้ในรถยนต์ครั้งแรกในปี 1992 ในยุโรป มีความแตกต่าง
คือ ใช้ไส้หลอดที่ทำจากโลหะทังสเตนในการทำให้เกิดแสงสว่างหลอด HID จะทำให้เกิดแสงสว่าง
ด้วยการผ่านกระแสไฟแรงสูง (หลอด HID จะต้องมีอุปกรณ์ช่วยในการเพิ่มกระแสไฟ 12 โวลท์ให้สูง
ขึ้นไปถึง 20,000 – 25,000 โวลท์) ไปยังขั้วของตัวนำที่ทำจากโลหะทังสเตน ซึ่งจะทำให้เกิด
การกระโดดของอิเล็คตรอนระหว่างขั้วของตัวนำคล้าย ๆ กับการกระโดดของไฟที่เขี้ยวหัวเทียน
หรือการสปาร์คที่เกิดจากการเชื่อมไฟฟ้าที่เราเห็น ๆ กันนั่นเอง อิเล็คตรอนนี้จะทำให้ปฏิกิริยากับ
ก๊าซซีนอนที่ถูกบรรจุอยู่ภายในหลอดแก้วทำให้เกิดแสงสว่างขึ้น